วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประวัติอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ประวัติ
........สวนผึ้งเป็นอำเภอสุดเขตแดนราชบุรีติดสันเขาตะนาวศรี สุดแดนแผ่นดินไทยทางด้านตะวันตกอีกด้วยเดิมทีนั้นสวนผึ้งขึ้นกับอำเภอจอมบึงในปี พ.ศ. 2525 ได้แยกตัวและยกฐานะขึ้นมาเป็นอำเภอสวนผึ้ง
........อำเภอสวนผึ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอด่านมะขามเตี้ย (จังหวัดกาญจนบุรี)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอบ้านคา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านคา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอมะริด (จังหวัดทวาย เขตตะนาวศรี สหภาพพม่า)
........ภาพภูมิประเทศของสวนผึ้งนั้นขนาบด้วยเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนตะวันตกมีทั้งป่าเขา น้ำตก ธารน้ำภาชี แม้จะตื้นน้ำไหลเชี่ยวแต่ก็เป็นลำธารที่ยาวไกล หล่อเลี้ยงชีวิตคน ต้นไม้ และสัตว์ในที่แห่งนี้ในแนวป่าลึกชนชายแดนระหว่างไทยกับพม่านั้นมีต้นไม้ใหญ่โตมากขนาดสี่คนโอบต้นไม้นี้บรรดาหมู่ผึ้งและมิ้มมาทำรวงรังขนาดใหญ่มากรังหนึ่ง ๆ กว้างเป็นเมตร ต้นหนึ่ง ๆ มีถึงกว่า 200 รังทีเดียวชาวบ้านกะเหรี่ยงจะอาศัยการตีรังผึ้งซึ่งถือเป็นน้ำหวานของป่าที่หวานหอมบริสุทธิ์จากดอกไม้ป่ามายังชีพต้นไม้แห่งรังผึ้งนี้ชาวบ้านกะเหรี่ยงเรียกว่า "ไหมซ่าเลียง" ชาวบ้านไทยเรียกว่า "ต้นชวนผึ้งหรือยวนผึ้ง" นี่เป็นที่มาของชื่อ อำเภอสวนผึ้งปัจจุบันยังมีน้ำผึ้งหวานหอมบริสุทธิ์แท้จากป่าวางขายกันอยู่แม้จะน้อยลงไปอย่างมากแล้วก็ตามและมาจากแนวป่าเขตพม่าเสียส่วนใหญ่สวนผึ้งเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนเมืองกรุงอีกครั้งในยุคเศรษฐกิจเบ่งบานเป็นฟองสบู่อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2538 ก็เพราะความงามตามธรรมชาติแวดล้อมไปด้วยป่าเขาทำให้ผู้คนนิยมมาท่องเที่ยวในดินแดนแห่งนี้เกิดการจัดสรรที่ดินมีบ้านพักแบบรีสอร์ทขึ้นมากมายมีร้านอาหารการกินขึ้นเป็นดอกเห็ดเรียงรายตามสองข้างถนนนับจากเขตจอมบึงไล่เรื่อยมาจนสุดแดนอำเภอสวนผึ้ง........ลักษณะภูมิประเทศ เต็มไปด้วยป่าเขาเนินดิน พื้นดินเป็นที่ชันเสียส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่ามากนักนอกจากมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์แล้วยังพบแร่ดีบุกตามสันเขาอีกหลายแห่ง จึงมีการขุดร่อนแร่ขึ้นตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มเปิดการค้าเสรี มีการสัมปทานทำเหมืองแร่อย่างเป็นล่ำเป็นสันสวนผึ้งเมื่อก่อนเป็นเมืองกันดานขาดการติดต่อสันจร เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการให้สัมปทานบัตรขุดแร่ดีบุกเหมืองก็ถูกพัฒนามีการตัดถนนเข้าเหมืองระยะทางหลายสิบกิโลเมตรเพื่อลำเลียงเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องกลหนักมาใช้ทำเหมือง ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นประชากรของเหมืองแต่ละแห่งมากมายนับร้อย ๆ คนทำให้เกิดชุมชน เกิดตลาด มีไฟฟ้าน้ำบาดาลให้ใช้ มีวัด โรงเรียน สถานีอนามัย ร้านค้า มีแม้กระทั่งบาร์และบ่อน ในยามนั้นสวนผึ้งจึงคึกคักและเริ่มมีการคมนาคมติดต่อกับผู้คนภายนอกต่อมาแร่ดีบุกตก เหมืองเสื่อม ผู้คนอพยพไปอยู่ที่อื่น สวนผึ้งก็เงียบเหงาลง แต่ยังคงมีการค้าขายที่ชายแดนจนกระทั่งด่านปิดตัวลง การค้าขายจึงซบเซาลงอย่างมาก
........อำเภอสวนผึ้งเดิมเป็นตำบลสวนผึ้งขึ้นอยู่กับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้อนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอสวนผึ้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2517 เปิดทำการบริการ ประชาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศิกายน 2517
........อำเภอสวนผึ้ง เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจอมบึง เรียกว่า "ตำบลสวนผึ้ง" เป็นตำบลที่มีพื้นที่กว้างขวาง ทุรกันดาร เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ การคมนาคม ไม่สะดวก ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง การปกครองดูแลเป็นไปด้วยความยากลำบาก รัฐบาลจึงได้จัดส่งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ที่ 70 กรป.กลาง บก.ทหารสูงสุด ประกอบด้วยทหาร 3 เหล่าทัพ และข้าราชการ พลเรือน ซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ พร้อมที่จะดำเนินการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และการเมือง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2511-2514 ต่อมากระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งพื้นที่อำเภอจอมบึง โดยตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอสวนผึ้ง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2517 และต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอสวนผึ้ง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2526
........ที่มาของคำว่า "สวนผึ้ง" เนื่องจากพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอมีสภาพแวดล้อมประกอบด้วย ธรรมชาติ ป่าไม้ เทือกเขา และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นผึ้ง" ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีสีขาวนวลไม่มีเปลือกกะเทาะหรือลอกให้เห็น และที่สำคัญคือจะมีผึ้งจำนวนนับแสนนับล้านตัวมาอาศัยทำรังบนต้นผึ้งเท่านั้น
........มีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลบ้านบึง ตำบลท่าเคย และตำบลบ้านคา สภาพท้องถิ่นทุรกันดาร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ มีภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทั่วไป ระยะทางจากอำเภอจอมบึง 30 ก.ม. ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี 60 กิโลเมตร และได้ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2525
........อาณาเขต
อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนผึ้ง ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำภาชีอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอจอมบึงและจังหวัดราชบุรี
ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอเมืองกาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
........ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอสวนผึ้ง มีสภาพเป็นที่ป่าและภูเขา มีที่ราบตามไหล่เขาและที่ราบตอนกลางของพื้นที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์บ้างเล็กน้อย
........พื้นที่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,145 ตารางกิโลเมตร
........คำขวัญอำเภอสวนผึ้ง
สาวกระเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชีแก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่าหวานซึ่งติดตรึงใจ
ที่มา http://ashome.siam2web.com
........ตำบลสวนผึ้ง มีอาณาเขตการบริการ การปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เทศบาลสวนผึ้ง และ อบต.สวนผึ้ง ซึ่งตั้งที่ทำการอยู่หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ห่างจากที่ว่าการ อ.สวนผึ้ง ประมาณ 2 กม. ซึ่งยกฐานะของสภาตำบลเป็น อบต.สวนผึ้ง ในวันที่ 30 มีนาคม 2539 แบ่งการปกครองทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านปอ, หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก, หมู่ที่ 3 บ้านผาปก, หมู่ที่ 5 บ้านถ้ำหิน, หมู่ที่ 6 บ้านห้วยคลุม, หมู่ที่ 7 บ้านห้วยผาก, หมู่ที่ 8 บ้านตะโกล่าง จำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครองของ อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3, 5, 6, 7, 8 และจำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครองของ เทศบาล และ อบต. ได้แก่ หมู่ที่ 1, 2, 4
........สภาพทั่วไปของตำบล
เป็นพื้นที่ราบสูงเป็นภูเขาสลับกับพื้นที่ราบ มีแม่น้ำชีไหลผ่าน ซึ่งไหลมาจากน้ำตกเก้าโจน และธารน้ำร้อนไหลผ่าน เป็นพื้นที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ซึ่งมีคนต่างด้าวอาศัยอยู่กันมาก ซึ่งส่วนมากเป็นชาวกระเหรี่ยง อพยพ
........อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ต.จระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดกับ อบต.ตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.ป่าหวาย และ เทศบาลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า